วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

อารยธรรมโบราณของไทย (อาณาจักรอ้ายลาว)

จากทฤษฎีกำเนิดชนชาติไทย ในทฤษฎีที่ 1 ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษของชนชาติไทยสร้างความเจริญอยู่ตอนเหนือของจีน  โดยวิลเลียม กลิฟตัน ดอด์ด มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับชนชาติไทยคือ  "ชนชาติไทย : พี่อ้ายของจีน" Dodd อธิบายว่า กลุ่มคนไทยมีเชื้อสายมองโกล พูดภาษาไทย อาศัยอยู่ตอนเหนือของจีน เรียกตนเองว่า "อ้ายลาว" (จีนเรียก ต้ามุง) ซึ่งได้เคยครอบครองดินแดนของจีนในปัจจุบัน  แต่ถูกจีนรุกรานจึงถอยร่นมาตั้งถิ่นฐานในมณฑลยูนนาน ไกวเจา กวางตุ้ง และกวงสี โดยอยู่ภายการปกครองของจีน แต่มีคนไทยบางกลุ่ม อพยพลงมาทางใต้ ร่วมกันก่อตั้งอาณาจักรน่านเจ้าในเวลาต่อมา (แต่ทฤษฎีนี้ เคยถูกวิจารณ์กันพอสมควร เพราะทางเหนือมันหนาวมาก กันดารมาก ไกลก็ไกล ไม่ว่ากันนะครับสำหรับบางท่านที่ยังเห็นด้วยกับทฤษฎีนี้ : สุรัตน์)
Blog นี้ กำลังจะพูดถึงอารยธรรมในยุคนั้นกันครับ อาณาจักรอ้ายลาว ได้แก่ นครลุง นครปา นครเงี้ยว และนครเพงาย

การแต่งกายของชาวอ้ายลาว

แม่น้ำฮวงโห หล่อเลี้ยงอารยธรรมนครลุง

 คำว่าไทย เป็นชื่อรวมของชนเผ่ามองโกล  ซึ่งแบ่งแยกออกเป็นหลายสาขา เช่นไทยอาหม ในแคว้นอัสสัม ไทยใหญ่  ไทยน้อย  ไทยโท้
ในแคว้นตั้งเกี๋ย อุปนิสัยปกติมักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักสันติ และความเป็นอิสระ ความเจริญของ
ชนชาติไทยนี้ สันนิษฐานว่า มีอายุไร่เรี่ยกันมากับความเจริญของชาวอียิปต์บาบิโลเนียและ
อัสสิเรียโบราณ ไทยเป็นชาติที่มีความเจริญมาก่อนจีนและก่อนชาวยุโรป ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพวกอนารยชนอยู่ เป็นระยะเวลา ประมาณ5,000 - 6,000 ปีมาแล้ว ที่ชนชาติไทยได้เคยมีที่ทำกินเป็นหลักฐาน  มีการปกครองเป็นปึกแผ่น และมีระเบียบแบบแผนอยู่ ณ ดินแดนซึ่งเป็นประเทศจีนในปัจจุบันเมื่อประมาณ 3,500 ปี ก่อนพุทธศักราช  ชนชาติไทยได้อพยพข้ามเทือกเขาเทียนชานเดินทางมาจนถึงที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ ณ บริเวณต้นแม่น้ำฮวงโห และแยงซีเกียงเดินทางมาจนถึงที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ ณ บริเวณต้นแม่น้ำฮวงโห และแยงซีเกียงและได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บริเวณที่แห่งนั้น  แล้วละเลิกอาชีพเลี้ยงสัตว์แต่เดิมเปลี่ยนมาเป็นทำการกสิกรรม ความเจริญก็ยิ่งทวีมากขึ้น  มีการปกครองเป็นปึกแผ่นและได้ขยายที่ทำกินออกไปทางทิศตะวันออกตามลำดับในขณะที่ชนชาติไทยมีความเป็นปึกแผ่นอยู่ ณ ดินแดนและมีความเจริญดังกล่าวชนชาติจีนยังคงเป็นพวกเลี้ยงสัตว์ ที่เร่ร่อนพเนจรอยู่ตามแถบทะเลสาบแคสเบียน  ต่อมาเมื่อประมาณกว่าหนึ่งพันปีที่ไทยอพยพเข้ามาอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเรียบร้อยแล้ว ชนชาติจีนจึงได้อพยพเข้ามาอยู่ในลุ่มน้ำดังกล่าวนี้บ้าง  และได้พบว่าชนชาติไทยได้ครอบครอง และมีความเจริญอยู่ก่อนแล้ว  ในระหว่างระยะเวลานั้นเราเรียกตัวเองว่าอ้ายลาว หรือพวกมุง ประกอบกันขึ้นเป็นอาณาจักรใหญ่ ถึงสามอาณาจักร ด้วยกันคือ
อาณาจักรลุง  ตั้งอยู่ทางตอนเหนือบริเวณต้นแม่น้ำเหลือง (หวงโห)
อาณาจักรปา  ตั้งอยู่ทางใต้ลงมาบริเวณพื้นที่ทางเหนือของมณฑลเสฉวน  อาณาจักรปาจัดว่าเป็นอาณาจักรที่สำคัญกว่าอาณาจักรอื่น
อาณาจักรเงี้ยว  ตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
ทั้งสามอาณาจักรนี้ มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ  ประชากรก็เพิ่มมากขึ้น  จึงได้แผ่ขยายอาณาเขตออกมา ทางทิศตะวันออก  โดยมีแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นแกนหลัก จากความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ถิ่นที่อยู่ใหม่ มีอิทธิพลทำให้เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยเดิม ตั้งแต่ครั้งยังทำการเลี้ยงสัตว์ ที่โหดเหี้ยม และชอบ
รุกราน  มาเป็นชนชาติที่มีใจกว้างขวาง รักสงบพอใจความสันติ อันเป็นอุปนิสัยที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงไทยรุ่นหลังต่อมา
เหตุที่ชนชาติจีนเข้ามารู้จักชนชาติไทยเป็นครั้งแรก เมื่อแหล่งทำมาหากินทางแถบทะเลสาบแคสเบียนเกิดอัตคัตขาดแคลน  ทำให้ชนชาติจีนต้องอพยพเคลื่อนย้ายมาทางทิศตะวันออกเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช  ชนชาติจีนได้อพยพข้ามเทือกเขาเทียนชานที่ราบสูงโกบีจนมาถึงลุ่มแม่น้ำไหว จึงได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ที่นั้น และมีความเจริญขึ้นตามลำดับ  ปรากฎมีปฐมกษัตริย์ของจีนชื่อ ฟูฮี  ได้มีการสืบวงค์กษัตริย์กันต่อมา  แต่ขณะนั้นจีนกับไทยยังไม่รู้จักกัน  ล่วงมาจนถึงสมัยพระเจ้ายู้  จีนกับไทยจึงได้รู้จักกันครั้งแรก  โดยมีสาเหตุมาจากที่พระเจ้ายู้ ได้มีรับสั่งให้มีการ สำรวจพระราชอาณาเขตขึ้น  ชาวจีนจึงได้มารู้จักชาวไทย  ได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอ้ายลาวจึงยกย่องนับถือถึงกับให้สมญาอาณาจักรอ้ายลาวว่า อาณาจักรไต๋  ซึ่งมีความหมายว่าอาณาจักรใหญ่  สันนิษฐานว่าเป็นสมัยแรกที่จีนกับไทยได้แลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีต่อกัน
อาณาจักรอ้ายลาวถูกรุกราน เมื่อประมาณ 390 ปี ก่อนพุทธศักราช  พวกจีนได้ถูกชนชาติตาดรุกราน  พวกตาดได้ล่วงเลยเข้ามารุกรานถึงอาณาจักรอ้ายลาวด้วยอาณาจักรลุงซึ่งอยู่ทางเหนือ ต้องประสบภัยสงครามอย่างร้ายแรง ในที่สุดก็ต้องทิ้งถิ่นฐานเดิม อพยพลงมาทางนครปา ซึ่งอยู่ทางใต้  ปล่อยให้พวกตาดเข้าครอบครองนครลุง ซึ่งมีอาณาเขตประชิดติดแดนจีน  ฝ่ายอาณาจักรจีนในเวลาต่อมาเกิดการจลาจล พวกราษฎรพากันอพยพหนีภัยสงคราม เข้ามาในนครปาเป็นครั้งแรก  เมื่ออพยพมาอยู่กันมากเข้า ก็มาเบียดเบียนชนชาติไทยในการครองชีพ ชนชาติ ไทยทนการเบียดเบียนไม่ได้ จึงได้อพยพจากนครปามาหาที่ทำกินใหม่ทางใต้ครั้งใหญ่ เมื่อประมาณ 50 ปี ก่อนพุทธศักราช แต่อาณาจักรอ้ายลาว ก็ยังคงอยู่จนถึงประมาณ พ.ศ.175  อาณาจักรจีนเกิดมีแคว้นหนึ่ง คือ แคว้นจิ๋น มีอำนาจขึ้นแล้วใช้แสนยานุภาพเข้ารุกราน อาณาจักรอ้ายลาว  นับเป็นครั้งแรกที่ไทยกับจีนได้รบพุ่งกัน  ในที่สุดชนชาติไทยก็เสียนครปาให้แก่จีน เมื่อ พ.ศ.205 ผลของสงครามทำให้ ชาวนครปาที่ยังตกค้างอยู่ในถิ่นเดิม อพยพเข้ามาหาพวกเดียวกันที่อาณาจักรเงี้ยว  ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอิสระอยู่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของจีน 
แต่ฝ่ายจีนยังคงรุกรานลงทางใต้สู่อาณาจักรเงี้ยวต่อไป  ในที่สุดชนชาติไทยก็เสียอาณาจักรเงี้ยวให้แก่ พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้ เมื่อปี พ.ศ.328 (ในภาพ : แม่น้ำฮวงโห)
อาณาจักรเพงาย    ตั้งแต่ พ.ศ. 400-621   เมื่ออาณาจักรอ้ายลาวถูกรุกรานจากจีน ทั้งวิธีรุกเงียบ และรุกรานแบบเปิดเผยโดยใช้แสนยานุภาพ จนชนชาติไทยอ้ายลาวสิ้นอิสรภาพ จึงได้อพยพอีกครั้งใหญ่  แยกย้ายกันไปหลายทิศหลายทางเพื่อหาถิ่นอยู่ใหม่ได้เข้ามาในแถบลุ่ม แม่น้ำสาละวิน ลุ่มแม่น้ำอิรวดี  บางพวกก็ไปถึงแคว้นอัสสัม บางพวกไปยังแคว้นตังเกี๋ย เรียกว่าไทยแกว บางพวกเข้าไปอยู่ที่แคว้นฮุนหนำ พวกนี้มี จำนวนค่อนข้างมาก ในที่สุดได้ตั้งอาณาจักรขึ้น เมื่อ พ.ศ.400  เรียกว่าอาณาจักรเพงาย
ในสมัยพระเจ้าขุนเมือง  ได้มีการรบระหว่างไทยกับจีน หลายครั้งผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ  สาเหตุที่รบกันเนื่องจากว่า ทางอาณาจักรจีน พระเจ้าวู่ตี่ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้จัดสมณทูตให้ไปสืบสวนพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดีย  แต่การเดินทางของสมณทูตต้องผ่านเข้ามาในอาณาจักรเพงาย  พ่อขุนเมืองไม่ไว้ใจจึงขัดขวาง ทำให้กษัตริย์จีนขัดเคืองจึงส่งกองทัพมารบ ผลที่สุดชาวเพงายต้องพ่ายแพ้เมื่อ พ.ศ. 456
 
ร่องรอยอาณาจักรเพงาย
            ต่อมาอาณาจักรจีนเกิดการจลาจล  ชาวนครเพงายจึงได้โอกาสแข็งเมือง ตั้งตนเป็นอิสระ จนถึง พ.ศ.621 ฝ่ายจีนได้รวมกันเป็นปึกแผ่นและมีกำลังเข้มแข็ง ได้ยกกองทัพมารุกรานไทย  สาเหตุของสงครามเนื่องจากพระเจ้ามิ่งตี่ กษัตริย์จีนได้วางแผนการขยายอาณาเขต โดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ  โดยได้ส่งสมณฑูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศใกล้เคียง  สำหรับนครเพงายนั้น เมื่อพระพุทธ
ศาสนาแผ่ไปถึงพ่อขุนลิวเมา ซึ่งเป็นหัวหน้าก็เลื่อมใส ชาวนครเพงายโดยทั่วไปก็ยอมรับนับถือเป็นศาสนาประจำชาติ  ด้วยต่างก็ประจักษ์ในคุณค่าของพระธรรมอันวิเศษยอดเยี่ยม  นับว่าสมัยนี้เป็นสมัยสำคัญ ที่พระพุทธศาสนาได้แผ่เข้ามาถึงอาณาจักรไทย คือ เมื่อประมาณ พ.ศ.612 เมื่อเป็นเช่นนั้นฝ่ายจีนจึงถือว่าไทยต้องเป็นเมืองขึ้นของจีนด้วย  จึงได้ส่งขุนนางเข้ามาควบคุมการปกครองนครเพงายเมื่อทาง ไทยไม่ยอมจึงเกิดผิดใจกัน  ฝ่ายจีนได้กรีฑาทัพใหญ่เข้าโจมตีนครเพงาย นครเพงายจึงเสียอิสรภาพ เมื่อ พ.ศ.621

2 ความคิดเห็น: