วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

ลำดับราชธานีของไทย

ที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า
     บทความนี้ ผมไปคัดๆ เอาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของไทยมาหลายๆ ยุคมาเทียบเคียงกันทางด้านมิติของเวลา เพราะยุคบรรพกาลของเรามีหลายๆ อาณาจักร แต่ละอาณาจักรก็ไม่ลำดับเวลาเรียงกัน คือก่อนที่อาณาจักรหนึ่งจะล่มสลาย ก็เกิดอาณาจักรใหม่ของไทยซ้อนขึ้นมาก่อน  สับสนมาตั้งแต่เรียนประถมแล้ว แต่ก็ตั้งคำถามกับครูไม่เป็น หรือไม่กล้าถามครู จะถามเพื่อนก็โง่เหมือนๆ กัน ตกลงเราเป็นลูกหลานของบรรพบุรุษจากอาณาจักรใดกันแน่
      อาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของวิชาประวัติศาสตร์ไทย ก็ท่องจำกันมาเรื่อย  ก่อนยุคสุโขทัยก็มีให้อ่านให้รู้จักบรรพบุรุษของเรา แต่อาณาจักรไหนหละมีเป็นต้นตระกูลไทยจริงๆ แต่ไม่ว่าเราจะเชื่อทฤษฎีใดของการกำเนิดชนชาติไทย ผมจะพยายามหาตัวเชื่อมที่เชื่อมรอยต่อของแต่ละยุค  ตัวเชื่อมของผมคือ บุคคลผู้ก่อตั้งราชธานีใหม่หรืออาณาจักรใหม่นั่นเอง ผมจะไม่เขียนประวัติศาสตร์ใหม่นะครับ เพราะเอาของเขามาตัดต่อทั้งดุ้น.....เท่ห์มากเลย
แต่ไม่อ้างอิงแหล่งข้อมูลหรอก เพราะอ้างบ่อยไปในตำรา
อาณาจักรน่านเจ้า พุทธศตวรรษที่ 5 - 12

การแต่งกายของชาวน่านเจ้า
       ผมไม่แน่ใจ คนอ่านจะยอมรับว่าอาณาจักรนี้เป็นบรรพบุรุษของไทยหรือเปล่า กลัวจะนึกไปถึงอารยธรรมของจีนมากกว่าความเป็นไทยซะอีก       ถ้าจะเิริ่มจริงๆ ต้องนับจาก พ.ศ.480 เป็นปีแรกที่กำเนิดอาณาจักรนี้จริงๆ นับตั้งแต่มีการอพยพโยกย้ายมาจากตอนเหนือของจีน มีการรวบรวมนครต่างๆ ทั้งหกเข้าด้วยกันกลายเป็นอาณาจักรน่านเจ้า จนถึงการล่มสลายกลายเป็นส่วนหนึ่งของจีน ลูกหลานของอาณาจักรน่านเจ้าก็เคลื่อนย้ายอพยพลงมาทางใต้ โดยพระเจ้าสิงหนวัติโอรสของพระเจ้าพีล่อโก๊ะมาตั้งอาณาจักรใหม่คืออาณาจักรโยนกเชียงแสน ที่จริงลูกหลานส่วนหนึ่งของอาณาจักรน่านเจ้าลงมาก่อตั้งอาณาจักรใหม่นี้ก่อนที่จะล่มสลายแล้ว  ตั้งแต่ก่อตั้งจนสิ้นสุดลงในปี 1823 ก็นับว่าอาณาจักรน่านเจ้า มีช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองยาวนานมากกว่าใคร
อาณาจักรโยกนกเชียงแสน พุทธศตวรรษที่ 13
     อาณาจักรโยนกเชียงแสน ประวัติศาสตร์ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมาจนถึงสมัยพระเจ้าพังคราช ได้ถูกพวกขอมครอบงำทั้งทางการเมืองและศิลปวัฒนธรรม เพราะพื้นที่บริเวณนี้ขอมรุ่งเรืองมาก่อนแล้ว เมื่อพ้นสมัยพระเจ้าพรหม อาณาจักรโยนกเชียงแสนก็เสื่อมลง มีการอพยพลงมาทางใต้สองสาย สายที่สำคัญที่จะเชื่อมโยงไปอีกอาณาจักรหนึ่งคือ สายที่นำโดยพระเจ้าชัยบุรีได้อพยพไปอยู่ที่เมืองนครไทย ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้อพยพที่มาจากโยนกเชียงแสนเพราะอยู่ปลายทางการอพยพและมีชาวโยนกเชียงแสนมาอยู่ก่อนจำนวนมากแล้ว ที่เมืองนครไทยนี้ก็มีบุคคลสำคัญที่คิดจะปลดแอกจากพวกขอมคือพ่อขุนบางกลางท่าว และในที่สุดก็สามารถสถาปนาสุโขทัยเป็นราชธานี ได้ในปี พ.ศ.1800 จากวันนั้นเป็นต้นมา อิทธิพลของขอมก็เสื่อมลงเป็นลำดับจนไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อความรุ่งเรืองของชนชาติไทยได้อีก
อาณาจักรล้านนา
สาวๆ ล้านนาในสมัยก่อน
เซ็กซี่แล้วยังขยันได้อีก
     เริ่มก่อตั้งเมื่อพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.1839 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการปกครองของเมืองที่อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระองค์และดำรงอยู่ต่อมาถึง 600 ปีเศษ จนถึง พ.ศ.2442 เมื่อ ร.5 ทรงประกาศยกเลิกหัวเมืองประเทศราช เปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลพายัพ 
     อาณาจักรล้านนามีเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านนารวมกันถึง 11 พระองค์ องค์สุดท้ายคือพญาแก้ว หลังรัชสมัยพญาแก้ว ก็ไม่มีเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่อีกเพราะเกิดความแตกแยก จนถึงช่วงปลายสมัยกรุงธนบุรี ล้านนาหรือเชียงใหม่ถูกทิ้งร้าง แต่พอถึงรัชสมัย ร.1 ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้ากาวิละไปเป็นเจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และมีทายาทครองเมืองเชียงใหม่ต่อมาอีกจนถึง พ.ศ.2442
     เห็นมั้ยครับว่า เรามีสองอาณาจักรไทยซ้อนกันถึง 3 ห้วงเวลา (ล้านนา/อยุธยา , ล้านนา/ธนบุึรี
ล้านนา/กรุงเทพฯ) 
อาณาจักรสุโขทัย พุทธศตวรรษ ที่ 18 - 19
แผนที่ประเทศไทยในยุคสุโขทัย
     ผมยังไม่แน่ใจว่า ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงวันเื่สื่อมของโยนกเชียงแสน นับเวลาได้ถึง 500 ปี มีใครจะนับเวลาหรือเปล่าก็ไม่รู้ สนใจจะนับเป็นห้วงเวลาประวัติศาสตร์ไทยหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือจะมีการยอมรับว่าโยนกเชียงแสนเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยหรือเปล่าก็ไม่ทราบอีกนั่นแหละ แต่ประวัติศาสตร์ก็สร้างตัวเชื่อมจากโยนกเชียงแสนมาที่สุโขทัยจนได้ ตัวเชื่อมก็คือพ่อขุนบางกลางท่าว หรือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ นั่นเอง ซึ่งประัวัติศาสตร์ไทยก็เริ่มจากปีที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนากรุงสุโขทัย ปี 1781 เราเรียนจากตำราในชั้นเรียนมาตั้งแต่ชั้นประถมแล้ว หน้าประวัติศาสตร์ก่อนนั้นไม่ได้พูดถึง ไม่พูดถึงเพราะไม่ยอมรับว่าเป็นชาติไทยหรือเปล่าก็ไม่รู้ ถ้าเรียนวิชาประวัติศาสตร์แล้วไปทำข้อสอบไปตอบอย่างอื่นที่ไม่ใช่พ่้อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์แล้วหละก็ สอบตกแน่นอน
     สมัยพญาไสลือไท (ไม่รู้จะต้องเอ่ยพระนามเป็นพ่อขุนด้วยหรือเปล่า) สุโขทัยทำสงครามกับอยุธยา (สมัยขุน
หลวงพะงั่ว) ต้องย้ายราชธานีมาอยู่ที่สองแคว (พิษณุโลก) จนถึงสมัยกษัตริย์องค์สุดท้ายของสุโขทัย ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ.1981 สำหรับช่วงเวลาสั้นๆ นี้ เราก็มีสองอาณาจักรซ้อนกันคือ สุโขทัย/อยุธยา
ซากความรุ่งเรืองในอดีตของอยุธยาศรีรามเทพ
กรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893 - 2310)
     พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยา ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย ขณะนั้นคือพญาเลอไทขึ้นครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ.1860 เป็นต้นมา เรามีสองราชธานีทับซ้อนเวลากันอยู่ ขณะที่อยุธยาถูกสถาปนาขึ้นใหม่ แต่ยังมีกษัตริย์สุโขทัยครองราชย์มาอีกถึง 4 พระองค์ (จากพญาเลอไท) เสมือนหนึ่งสุโขทัยเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา
    หลังจากที่สุโขทัยเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาแล้ว ก็ยังมีสองอาณาจักรไทยซ้อนเวลากันก็คือราชอาณาจักรไทยกับอาณาจักรล้านนาเท่านั้น ซึ่งได้กล่าวไปแล้ว ฉะนั้นยุคธนบุรีและกรุงเทพฯ ผมจะไม่กล่าวอีกแล้ว




วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

อารยธรรมโบราณของไทย (อาณาจักรอ้ายลาว)

จากทฤษฎีกำเนิดชนชาติไทย ในทฤษฎีที่ 1 ที่เชื่อว่าบรรพบุรุษของชนชาติไทยสร้างความเจริญอยู่ตอนเหนือของจีน  โดยวิลเลียม กลิฟตัน ดอด์ด มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับชนชาติไทยคือ  "ชนชาติไทย : พี่อ้ายของจีน" Dodd อธิบายว่า กลุ่มคนไทยมีเชื้อสายมองโกล พูดภาษาไทย อาศัยอยู่ตอนเหนือของจีน เรียกตนเองว่า "อ้ายลาว" (จีนเรียก ต้ามุง) ซึ่งได้เคยครอบครองดินแดนของจีนในปัจจุบัน  แต่ถูกจีนรุกรานจึงถอยร่นมาตั้งถิ่นฐานในมณฑลยูนนาน ไกวเจา กวางตุ้ง และกวงสี โดยอยู่ภายการปกครองของจีน แต่มีคนไทยบางกลุ่ม อพยพลงมาทางใต้ ร่วมกันก่อตั้งอาณาจักรน่านเจ้าในเวลาต่อมา (แต่ทฤษฎีนี้ เคยถูกวิจารณ์กันพอสมควร เพราะทางเหนือมันหนาวมาก กันดารมาก ไกลก็ไกล ไม่ว่ากันนะครับสำหรับบางท่านที่ยังเห็นด้วยกับทฤษฎีนี้ : สุรัตน์)
Blog นี้ กำลังจะพูดถึงอารยธรรมในยุคนั้นกันครับ อาณาจักรอ้ายลาว ได้แก่ นครลุง นครปา นครเงี้ยว และนครเพงาย

การแต่งกายของชาวอ้ายลาว

แม่น้ำฮวงโห หล่อเลี้ยงอารยธรรมนครลุง

 คำว่าไทย เป็นชื่อรวมของชนเผ่ามองโกล  ซึ่งแบ่งแยกออกเป็นหลายสาขา เช่นไทยอาหม ในแคว้นอัสสัม ไทยใหญ่  ไทยน้อย  ไทยโท้
ในแคว้นตั้งเกี๋ย อุปนิสัยปกติมักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักสันติ และความเป็นอิสระ ความเจริญของ
ชนชาติไทยนี้ สันนิษฐานว่า มีอายุไร่เรี่ยกันมากับความเจริญของชาวอียิปต์บาบิโลเนียและ
อัสสิเรียโบราณ ไทยเป็นชาติที่มีความเจริญมาก่อนจีนและก่อนชาวยุโรป ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพวกอนารยชนอยู่ เป็นระยะเวลา ประมาณ5,000 - 6,000 ปีมาแล้ว ที่ชนชาติไทยได้เคยมีที่ทำกินเป็นหลักฐาน  มีการปกครองเป็นปึกแผ่น และมีระเบียบแบบแผนอยู่ ณ ดินแดนซึ่งเป็นประเทศจีนในปัจจุบันเมื่อประมาณ 3,500 ปี ก่อนพุทธศักราช  ชนชาติไทยได้อพยพข้ามเทือกเขาเทียนชานเดินทางมาจนถึงที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ ณ บริเวณต้นแม่น้ำฮวงโห และแยงซีเกียงเดินทางมาจนถึงที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ ณ บริเวณต้นแม่น้ำฮวงโห และแยงซีเกียงและได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บริเวณที่แห่งนั้น  แล้วละเลิกอาชีพเลี้ยงสัตว์แต่เดิมเปลี่ยนมาเป็นทำการกสิกรรม ความเจริญก็ยิ่งทวีมากขึ้น  มีการปกครองเป็นปึกแผ่นและได้ขยายที่ทำกินออกไปทางทิศตะวันออกตามลำดับในขณะที่ชนชาติไทยมีความเป็นปึกแผ่นอยู่ ณ ดินแดนและมีความเจริญดังกล่าวชนชาติจีนยังคงเป็นพวกเลี้ยงสัตว์ ที่เร่ร่อนพเนจรอยู่ตามแถบทะเลสาบแคสเบียน  ต่อมาเมื่อประมาณกว่าหนึ่งพันปีที่ไทยอพยพเข้ามาอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเรียบร้อยแล้ว ชนชาติจีนจึงได้อพยพเข้ามาอยู่ในลุ่มน้ำดังกล่าวนี้บ้าง  และได้พบว่าชนชาติไทยได้ครอบครอง และมีความเจริญอยู่ก่อนแล้ว  ในระหว่างระยะเวลานั้นเราเรียกตัวเองว่าอ้ายลาว หรือพวกมุง ประกอบกันขึ้นเป็นอาณาจักรใหญ่ ถึงสามอาณาจักร ด้วยกันคือ
อาณาจักรลุง  ตั้งอยู่ทางตอนเหนือบริเวณต้นแม่น้ำเหลือง (หวงโห)
อาณาจักรปา  ตั้งอยู่ทางใต้ลงมาบริเวณพื้นที่ทางเหนือของมณฑลเสฉวน  อาณาจักรปาจัดว่าเป็นอาณาจักรที่สำคัญกว่าอาณาจักรอื่น
อาณาจักรเงี้ยว  ตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
ทั้งสามอาณาจักรนี้ มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ  ประชากรก็เพิ่มมากขึ้น  จึงได้แผ่ขยายอาณาเขตออกมา ทางทิศตะวันออก  โดยมีแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นแกนหลัก จากความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ถิ่นที่อยู่ใหม่ มีอิทธิพลทำให้เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยเดิม ตั้งแต่ครั้งยังทำการเลี้ยงสัตว์ ที่โหดเหี้ยม และชอบ
รุกราน  มาเป็นชนชาติที่มีใจกว้างขวาง รักสงบพอใจความสันติ อันเป็นอุปนิสัยที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงไทยรุ่นหลังต่อมา
เหตุที่ชนชาติจีนเข้ามารู้จักชนชาติไทยเป็นครั้งแรก เมื่อแหล่งทำมาหากินทางแถบทะเลสาบแคสเบียนเกิดอัตคัตขาดแคลน  ทำให้ชนชาติจีนต้องอพยพเคลื่อนย้ายมาทางทิศตะวันออกเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช  ชนชาติจีนได้อพยพข้ามเทือกเขาเทียนชานที่ราบสูงโกบีจนมาถึงลุ่มแม่น้ำไหว จึงได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ที่นั้น และมีความเจริญขึ้นตามลำดับ  ปรากฎมีปฐมกษัตริย์ของจีนชื่อ ฟูฮี  ได้มีการสืบวงค์กษัตริย์กันต่อมา  แต่ขณะนั้นจีนกับไทยยังไม่รู้จักกัน  ล่วงมาจนถึงสมัยพระเจ้ายู้  จีนกับไทยจึงได้รู้จักกันครั้งแรก  โดยมีสาเหตุมาจากที่พระเจ้ายู้ ได้มีรับสั่งให้มีการ สำรวจพระราชอาณาเขตขึ้น  ชาวจีนจึงได้มารู้จักชาวไทย  ได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอ้ายลาวจึงยกย่องนับถือถึงกับให้สมญาอาณาจักรอ้ายลาวว่า อาณาจักรไต๋  ซึ่งมีความหมายว่าอาณาจักรใหญ่  สันนิษฐานว่าเป็นสมัยแรกที่จีนกับไทยได้แลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีต่อกัน
อาณาจักรอ้ายลาวถูกรุกราน เมื่อประมาณ 390 ปี ก่อนพุทธศักราช  พวกจีนได้ถูกชนชาติตาดรุกราน  พวกตาดได้ล่วงเลยเข้ามารุกรานถึงอาณาจักรอ้ายลาวด้วยอาณาจักรลุงซึ่งอยู่ทางเหนือ ต้องประสบภัยสงครามอย่างร้ายแรง ในที่สุดก็ต้องทิ้งถิ่นฐานเดิม อพยพลงมาทางนครปา ซึ่งอยู่ทางใต้  ปล่อยให้พวกตาดเข้าครอบครองนครลุง ซึ่งมีอาณาเขตประชิดติดแดนจีน  ฝ่ายอาณาจักรจีนในเวลาต่อมาเกิดการจลาจล พวกราษฎรพากันอพยพหนีภัยสงคราม เข้ามาในนครปาเป็นครั้งแรก  เมื่ออพยพมาอยู่กันมากเข้า ก็มาเบียดเบียนชนชาติไทยในการครองชีพ ชนชาติ ไทยทนการเบียดเบียนไม่ได้ จึงได้อพยพจากนครปามาหาที่ทำกินใหม่ทางใต้ครั้งใหญ่ เมื่อประมาณ 50 ปี ก่อนพุทธศักราช แต่อาณาจักรอ้ายลาว ก็ยังคงอยู่จนถึงประมาณ พ.ศ.175  อาณาจักรจีนเกิดมีแคว้นหนึ่ง คือ แคว้นจิ๋น มีอำนาจขึ้นแล้วใช้แสนยานุภาพเข้ารุกราน อาณาจักรอ้ายลาว  นับเป็นครั้งแรกที่ไทยกับจีนได้รบพุ่งกัน  ในที่สุดชนชาติไทยก็เสียนครปาให้แก่จีน เมื่อ พ.ศ.205 ผลของสงครามทำให้ ชาวนครปาที่ยังตกค้างอยู่ในถิ่นเดิม อพยพเข้ามาหาพวกเดียวกันที่อาณาจักรเงี้ยว  ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอิสระอยู่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของจีน 
แต่ฝ่ายจีนยังคงรุกรานลงทางใต้สู่อาณาจักรเงี้ยวต่อไป  ในที่สุดชนชาติไทยก็เสียอาณาจักรเงี้ยวให้แก่ พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้ เมื่อปี พ.ศ.328 (ในภาพ : แม่น้ำฮวงโห)
อาณาจักรเพงาย    ตั้งแต่ พ.ศ. 400-621   เมื่ออาณาจักรอ้ายลาวถูกรุกรานจากจีน ทั้งวิธีรุกเงียบ และรุกรานแบบเปิดเผยโดยใช้แสนยานุภาพ จนชนชาติไทยอ้ายลาวสิ้นอิสรภาพ จึงได้อพยพอีกครั้งใหญ่  แยกย้ายกันไปหลายทิศหลายทางเพื่อหาถิ่นอยู่ใหม่ได้เข้ามาในแถบลุ่ม แม่น้ำสาละวิน ลุ่มแม่น้ำอิรวดี  บางพวกก็ไปถึงแคว้นอัสสัม บางพวกไปยังแคว้นตังเกี๋ย เรียกว่าไทยแกว บางพวกเข้าไปอยู่ที่แคว้นฮุนหนำ พวกนี้มี จำนวนค่อนข้างมาก ในที่สุดได้ตั้งอาณาจักรขึ้น เมื่อ พ.ศ.400  เรียกว่าอาณาจักรเพงาย
ในสมัยพระเจ้าขุนเมือง  ได้มีการรบระหว่างไทยกับจีน หลายครั้งผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ  สาเหตุที่รบกันเนื่องจากว่า ทางอาณาจักรจีน พระเจ้าวู่ตี่ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้จัดสมณทูตให้ไปสืบสวนพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดีย  แต่การเดินทางของสมณทูตต้องผ่านเข้ามาในอาณาจักรเพงาย  พ่อขุนเมืองไม่ไว้ใจจึงขัดขวาง ทำให้กษัตริย์จีนขัดเคืองจึงส่งกองทัพมารบ ผลที่สุดชาวเพงายต้องพ่ายแพ้เมื่อ พ.ศ. 456
 
ร่องรอยอาณาจักรเพงาย
            ต่อมาอาณาจักรจีนเกิดการจลาจล  ชาวนครเพงายจึงได้โอกาสแข็งเมือง ตั้งตนเป็นอิสระ จนถึง พ.ศ.621 ฝ่ายจีนได้รวมกันเป็นปึกแผ่นและมีกำลังเข้มแข็ง ได้ยกกองทัพมารุกรานไทย  สาเหตุของสงครามเนื่องจากพระเจ้ามิ่งตี่ กษัตริย์จีนได้วางแผนการขยายอาณาเขต โดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ  โดยได้ส่งสมณฑูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศใกล้เคียง  สำหรับนครเพงายนั้น เมื่อพระพุทธ
ศาสนาแผ่ไปถึงพ่อขุนลิวเมา ซึ่งเป็นหัวหน้าก็เลื่อมใส ชาวนครเพงายโดยทั่วไปก็ยอมรับนับถือเป็นศาสนาประจำชาติ  ด้วยต่างก็ประจักษ์ในคุณค่าของพระธรรมอันวิเศษยอดเยี่ยม  นับว่าสมัยนี้เป็นสมัยสำคัญ ที่พระพุทธศาสนาได้แผ่เข้ามาถึงอาณาจักรไทย คือ เมื่อประมาณ พ.ศ.612 เมื่อเป็นเช่นนั้นฝ่ายจีนจึงถือว่าไทยต้องเป็นเมืองขึ้นของจีนด้วย  จึงได้ส่งขุนนางเข้ามาควบคุมการปกครองนครเพงายเมื่อทาง ไทยไม่ยอมจึงเกิดผิดใจกัน  ฝ่ายจีนได้กรีฑาทัพใหญ่เข้าโจมตีนครเพงาย นครเพงายจึงเสียอิสรภาพ เมื่อ พ.ศ.621

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีกำเนิดชนชาติไทย

ก่อนอื่น ผมขอแจ้งที่มาของข้อมูลใน BLOG นี้ก่อน เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้รวบรวมข้อมูล
ข้อมูลนี้ได้มาจาก E-Book กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของข้อมูลคือ อาจารย์สุริยัน พินทอง ซึ่งสอดคล้องกับตำราจากหลายๆ สำนัก

ขอขอบคุณมากครับ และขออภัยด้วยครับเพราะวรรคตอนช่องไฟเพี้ยนเยอะเลย


ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย  ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน  เนื่องจากยังหาหลักฐานมายืนยันอย่างชัดเจนไม่ได้ว่าชนชาติไทย มีถิ่นกำเนิดที่แท้จริงอยู่ที่บริเวณใด  คงมีเพียงข้ออ้างอิงทฤษฎีและข้อสัน-นิษฐาน ว่ามีถิ่นกำเนิดในที่ต่างๆ  กันไป ตามแต่ใครจะหาหลักฐานอ้างอิง หรือมีเหตุผลประกอบการนำเสนอพร้อมหลักฐานอ้างอิงได้  ซึ่งมีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ค้นคว้า  ศึกษา  เสาะแสวงหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์มายืนยันอยู่หลายท่าน ซึ่งแต่ละท่านก็ได้แสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเสนอพยานหลักฐานยืนยันแนวความคิดของตนเอง ซึ่งได้เสนอไว้เป็นแนวทางในการศึกษาถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ดังนี้  

1.ทางตอนเหนือของประเทศจีน
วิลเลี่ยม  กลิฟตัน  ดอดด์  มิชชันนารีชาวอเมริกัน  เคยเดินทางไปมณฑลยูนนานในประเทศจีน  ระหว่าง พ.ศ.2450 2461  และได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับชนชาติไทย ชื่อ  ชาติไทย : พี่อ้ายของคนจีน  ซึ่งหลวงแพทย์นิติสวรรค์  ฮวดหลี  หุตะโกวิท  ได้แปลเป็นภาษาไทยว่า ชนชาติไทย  ดอด์ด อธิบายว่า กลุ่มคนไทยมีเชื้อชาติสายมองโกล  พูดภาษาไทย  อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของจีน  เรียกตนเองว่า อ้ายลาว  (จีนเรียก ต้ามุง)  ชนชาตินี้เคยครอบครองดินแดนประเทศจีนปัจจุบัน แต่ถูกจีนรุกรานจึงถอยร่นมาตั้งถิ่นฐานในมณฑลยูนนาน  ไกวเจา  กวางตุ้ง  และกวางสี  โดยอยู่ภายใต้การปกครองของจีน  แต่มีคนไทยบางส่วนได้อพยพลงมาทางใต้  เข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีนและได้ร่วมกันก่อตั้งอาณาจักรน่านเจ้าในเวลาต่อมา
ขุนวิจิตรมาตรา  (รองอำมาตย์โทสง่า  กาญจนาคพันธ์)   ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในหนังสือ หลักไทย ว่าถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ที่บริเวณเทือกเขาอัลไต  ทางตอนเหนือของจีน (ติดกับมองโกเลีย)  ต่อมาจึงได้อพยพลงไปทางใต้เพื่อหาที่อยู่ใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่า และได้ก่อตั้ง นครลุง  ขึ้น หลังจากนั้นอพยพมาทางบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเสฉวน  แล้วสร้างเมืองใหม่ คือ นครปา  หรือ  อ้ายลาว  ซึ่งต่อมาถูกจีนครอบครอง จึงอพยพลงมาทางใต้ เข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีนและดินแดนประเทศไทยปัจจุบันตามลำดับ   
2.บริเวณตอนกลางของประเทศจีน
เทเรียน  เดอ  ลา  คูเปอรี   เป็นชาวอังกฤษ และเป็นผู้เชียวชาญทางภาษาศาสตร์ของอินโดจีน  ได้ศึกษาจากเอกสารจีน  กล่าวว่า อาณาจักรต้ามุง  ซึ่งเป็นกลุ่มชนชาติไทยในมณฑลเสฉวนของจีน  ระยะแรกชนชาติจีนได้ยกย่องชนชาติไทยว่าเป็นชนชาติที่น่ายกย่อง  เพราะต้ามุงหมายถึงเมืองใหญ่ และมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน  แต่ต่อมาจีนเริ่มรุกรานเข้ามาในอาณาจักรต้ามุง  คนไทยจึงได้อพยพลงมาทางใต้บริเวณมณฑลเสฉวนและเข้าสู่ตอนเหนือของคาบสมุทรอินโดจีนในระยะต่อมา
หลวงวิจิตรวาทการ และ  พระยาอนุมานราชธน   ได้วิเคราะห์เรื่องถิ่นกำเนิดของไทยไว้ในหนังสือเรื่อง งานค้นคว้าเรื่องเชื้อชาติไทย  ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในดินแดนที่เป็นมณฑลเสฉวน  ฮูเป อันฮุยและเกียงสี  บริเวณตอนกลางของจีน  ต่อจากนั้นจึงอพยพลงมาทางตอนใต้ที่เป็นมณฑลยูนนานและแหลมอินโดจีน
3.บริเวณตอนใต้ของจีน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  (บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ไทย)  ได้แสดงพระราชดำริไว้ในนิพนธ์เรื่อง แสดงบรรยายพงศาวดารสยามและลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ ว่า   แต่เดิมชนชาติไทยมีภูมิลำเนาอยู่ทางตอนใต้ของจีน  แถบมณฑลกวางตุ้ง  และยูนนาน  ต่อมาถูกจีนรุกรานจึงอพยพเพื่อแสวงหาดินแดนใหม่  โดยแยกออกเป็น  2  สายดังนี้
สายที่ 1 อพยพไปทางทิศตะวันตกแถบลุ่มน้ำสาละวินในพม่า  และบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดียปัจจุบัน  เรียกว่า ไทยใหญ่
สายที่ 2 อพยพลงมาทางใต้แถบบริเวณแคว้นตังเกี๋ย  สิบสองจุไท  สิบสองปันนา  ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน  เรียกว่า ไทยน้อย ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของคนไทยปัจจุบัน


4.บริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน
อารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันนี้  ได้มีนักโบราณคดี นักมนุษยวิทยาและนักชาติพันธุ์วิทยา  ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ในยุดที่ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับใช้บันทึกเรื่องราวของตนเป็นหลักฐานและความรู้ทางเทคโนโลยี ก็อยู่ในระดับต่ำซึ่งเรียกว่า ยุคหิน  และ  ยุคโลหะ  อันเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏว่าได้ค้นพบโครงกระดูก  เครื่องมือ  เครื่องใช้ของมนุษย์ในสมัยดังกล่าวเป็นจำนวนมาก  สันนิษฐานว่า ในดินแดนอันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบันนี้เคยเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลกแห่งหนึ่งก่อนจะถึงยุดที่มีตัวอักษรบันทึกเรื่องราว  แหล่งที่ค้นพบอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยที่สำคัญ คือ                                                                                                        
ถ้ำผี  อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือที่ทำด้วยหิน มีอายุรุ่นเดียวกับโครงกระดูกมนุษย์ที่ค้นพบที่กรุงปักกิ่งของจีน                                                                                                                 
ถ้ำพระ   อยู่ในเขตอำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี  ได้ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมืดที่ทำด้วยหิน  แสดงถึงพิธีกรรมในการฝังศพ  และมีความเชื่อถือในเรื่อง ที่จะกลับมาฟื้นคืนชีพได้อีก
บ้านเชียง   เป็นตำบลหนึ่งเป็นอำเภอหนึ่ง ของจังหวัดอุดรธานี  มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์  เครื่องปั้นดินเผาที่มีการเขียนลวดลายด้วยสีสรรอย่างสวยงาม  นอกจากนี้ยังพบปลายหอกทำด้วยสำริด  กำไลแขนสำริด  ลูกปัดแก้ว  ซึ่งมีอายุมากกว่า 7,000-5,000 ปีมาแล้ว  หรือราว 1,800 ปีก่อนพุทธกาล  ถือเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมอันเก่าแก่ที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด  แสงวิเชียร  ได้ศึกษาโครงกระดูกมนุษย์ยุดหินที่ค้นพบบริเวณบ้านเก่า  จังหวัดกาญจนบุรี  เปรียบเทียบกับโครงกระดูกของประเทศไทยในปัจจุบัน  พบว่ามีความคล้ายคลึงกันเกือบทุกประการ  มีเครื่องปั้นดินเผาคล้ายกัน  จึงมีความเห็นว่าดินแดนภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบันนี้ น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนที่เป็นบรรพบุรุษของชนชาติไทยปัจจุบัน
ศาสตราจารย์ ชิน   อยู่ดี  ผู้เชียวชาญทางด้านโบราณคดีไทย  ได้เขียนหนังสือเรื่อง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย  เสนอว่า  จากการสำรวจค้นคว้าด้านโบราณคดี  ได้ปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในดินแดนประเทศไทย  ตั้งแต่ยุคหินจนถึงยุดโลหะ  ต่อมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์  โดยมีการสืบเนื่องทางวัฒนธรรมจนถึงปัจจุบัน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนชาติไทย
มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย ได้เขียนอธิบายไว้หลายแนวทาง พอสรุปได้ดังนี้
นายเอเตียน   เอโมนิเอร์  ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองขึ้นของฝรั่งเศส  ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่องประเทศกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ.2443 ว่า มีครอบครัวเชื้อชาติไทยใหญ่ ซึ่งเรียนว่า ไทย ที่แปลกันว่าเสรีชน ประกอบด้วยหมู่ชนมากมายหลายสาขา มีความสัมพันธ์อย่างเครือญาติใกล้ชิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางภาษา ชนส่วนใหญ่ของเชื้อชาติดังกล่าวได้แก่ ฉาน  ลาว  หรือลาวเฉียง  ผู้ไทและชาวสยาม  เมื่อก่อนคริสต์ศักราช ชนชาตินี้ได้มีถิ่นฐานอยู่ในที่ราบสูงยูนาน หรือธิเบตตะวันออก ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาตามทางลาดเอียงของ
ลำน้ำ เข้ายึดครองลุ่มน้ำหลายแห่งในประเทศจีนตอนใต้ และได้แผ่ลงมาทางใต้เหมือนน้ำไหลอย่างแรง  ครอบคลุมที่ราบในแหลมอินโดจีนเกือบทั้งหมด และได้ขับไล่พวกชาวป่าชาวดอยเจ้าของถิ่นเดิมให้เข้าไปอยู่ในป่าดง และภูเขา ชนชาติไทยก็เข้าครอบครองดินแดนดังกล่าว คงเหลือดินแดนให้แก่พวกพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว คือ พวก ญวน เขมร และมลายู
พันตรี เดวิด  ชาวอังกฤษ ได้เขียนไว้ในหนังสือ ไทยในยูนาน  ว่า  คนจีนในยูนนานกล่าวว่า ชาวกวางตุ้งนั้นเป็นเชื้อชาติฉาน (ไทยใหญ่)  มีรูปร่างหน้าตาของชาวจีนตอนใต้กับพวกฉานทางเหนือเหมือนกันมาก อาจเป็นไปได้ว่าในสมัยหนึ่งพวกฉาน ได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศจีนทางด้านทิศใต้ของแม่น้ำยังจื้อ แต่ส่วนมากถูกพวกจีนกลืนไป
พันโทมอริส  อาบาดี  ชาวฝรั่งเศส  อธิบายว่า  กลุ่มเชื้อชาติของกลุ่มคนที่เรียกชื่อว่า ไทย เป็นกลุ่มสำคัญที่สุดในบรรดาหมู่ชนทั่งหลายที่ได้พบในประเทศจีนตอนใต้ และในอินโดจีนทั้งหมด  เป็นกลุ่มที่รวมหมู่มากมายหลายประเภท แต่มีลักษณะสำคัญที่เหมือนกันในทางภาษา ขนบประเพณี และจารีตวัฒนธรรม
นายดอชเรน  ชาวอังกฤษ  ซึ่งเป็นสมาชิกราชบัณฑิตยสภาอังกฤษ เกี่ยวกับทวีปเอเซีย ให้คำอธิบาย
ว่าเชื้อชาติไทย แบ่งแยกเรียกชื่อตามหมู่เหล่าหลายชื่อ แต่เป็นเชื่อชาติเดียวกัน ได้ยึดครองพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าคนเชื้อชาติอื่นๆ ในแหลมอินโดจีน ในอัสสัม ซึ่งเรียกว่า อาหม  ตลอดแนวเขตแดนระหว่างพม่ากับจีน  แบ่งแยกเป็นหลายพวก และบางพวกก็เป็นอิสระอย่างครึ่งๆ กลางๆ เรียกชื่อตามที่พม่าเรียกว่า ฉาน ชนเชื้อชาติเดียวกันนี้ได้แผ่ออกไปทางใต้ใช้ชื่อว่า ลาว ยึดครองพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสาละวินกับแม่น้ำโขงตอนใต้ลงไป รู้จักกันมากที่สุด และเป็นเชื้อชาติที่มีอารยธรรมสูงที่สุด คือ ไทยสยาม ซึ่งได้ตั้งอาณาจักรที่มีอำนาจอยู่ทางฝั่งทะเล
ศาสตราจารย์แตริอัง  เดอลาคุเปอรี   ชาวอังกฤษ ได้ตรวจสอบภาษาพูดของชาวจีนสมัยโบราณ  พบว่าคำพูดของหมู่ชนที่จีนเรียกว่า คนป่า ในสมัยโบราณนั้น แยกออกได้เป็นสองสาขา คือ บางคำตรงกับภาษาไทย  บางคำตรงกับภาษามอญและญวน  เมื่อลองตรวจนับดูก็พบว่าในบรรดาคำ 19 คำ จะเป็นภาษาไทย 12 คำ นอกนั้นเป็นภาษามอญและญวน และมีอยู่หลายคำที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์คุเปอรีจึงถือว่า หมู่ชนที่ชาวจีนเรียกว่าคนป่านั้นต้องเป็นเชื้อชาติหนึ่งของชนชาติ มอญไทย โดยที่พันธุ์มอญได้เคลื่อนลงมาทางใต้ก่อนพันธุ์ไทย และมากลายเป็น มอญ เขมร ญวน ในปัจจุบัน ศาสตราจารย์ลาคุเปอรี ได้พบจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงชนชาติไทยเป็นครั้งแรกในรัชสมัย
พระเจ้ายู้ของจีน เมื่อ 1654 ปีก่อนพุทธศักราช ชนชาติไทยได้ถูกระบุไว้ในรายงานการสำรวจภูมิประเทศของจีนในครั้งนั้น แต่จดหมายเหตุจีนเรียกชนชาติไทยว่า มุง และบางแห่งเรียก ต้ามุง คือมุงใหญ่ ถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทยดังกล่าวนี้ อยู่ในเขตมณฑลเสฉวนของจีนในปัจจุบัน  ซึ่งอยู่ในพื้นที่จีนกลางค่อนไปทางตะวันตก มีจดหมายเหตุของจีน กล่าวถึงชนชาติไทย ได้เรียกชื่อไทยเป็นสองพวก คือ ลุง กับ ปา อาจจะเป็นได้ว่า ทิวเขากุยลุง  ได้ชื่อมาจากไทยพวกที่จีนเรียกว่าลุง  คำว่ากุย เป็นคำไทย แปลว่า เขา นอกจากนั้นยังมีชนชาติอีกพวกหนึ่ง อยู่ในพื้นที่ระหว่างมณฑลโฮนาน  ฮูเปและอันฮุย  แล้วได้ขยายตัวออกไปถึงทิวเขากุยลุง  ทางด้านตะวันตก เราก็จะได้พบชนชาติไทยที่เรียกชื่อว่า มุง  ลุง  ปา  ปังและลาว บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแยงซีเกียง  ครอบครองดินแดนตั้งแต่มณฑลเสฉวนภาคตะวันตก ต่อเนื่องทางด้านตะวันออกจนเกือบถึงทะเลและย้อนขึ้นไปทางเขตมณฑลเกียงสู ทิวภูเขาลาวในแถบนี้ก็อาจจะได้ชื่อมาจากพวกไทยที่เรียกตัวเองว่า ลาว นี้เอง
เซอร์ยอร์ซ  สก็อต ชาวอังกฤษผู้เขียนประวัติศาสตร์พม่าได้เขียนความตอนหนึ่งว่าเชื้อชาติไทยเป็นเชื้อชาติแผ่ไพศาลที่สุดในแหลมอินโดจีน ชาวอาหมในแคว้นอัสสัมเป็นฉาน  ชาวฮักกาในกวางตุ้งเป็นพวกที่ไปจากฉาน อาจจะเป็นไปได้ว่าเชื้อชาติไทยประกอบส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสี่มณฑลทางตอนใต้ของจีน
เรเวอเรนต์  เบอร์กวอล  นักบวชชาวอังกฤษ กล่าวว่า ไทยในมณฑลกวางสี ตามอำเภอชนบทมาก
หลาย ปกครองโดยหัวหน้าของเขาเองที่สืบเชื้อสายต่อกันมาไม่พูดภาษาจีน และถือพวกถือหมู่ ถึงขั้นไม่ยินดีรับอารยธรรมจีน